พืชท้องถิ่น
สมุนไพร-ฝาง
ฝาง สมุนไพร
ดอกสมุนไพรฝางออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn.
ชื่อสามัญ : Sappan
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ฝางเสน (กลาง), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หนามโค้ง (แพร่),โซปั้ก (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น : สมุนไพรฝางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ตามลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนาม ซึ่งโคนหนามนี้พองคล้ายกับฐานนม
ใบ : เป็นไม้ใบรวม ลักษณะการเรียงใบคล้ายกับใบหางนกยูงไทย มีสีเขียว
ดอก : ฝางออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง
ผล : เป็นฝักรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ ฝักของฝางนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดแก่นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม” และ แก่นสีแดงเข้มเรียกว่า “ฝางเสน” ตรงปลายฝักนี้จะยาวแหลมยื่นออกมาเล็กน้อย
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญงอกงามได้ดีในดินที่ร่วนซุยสามารถให้ร่มเงาแก่เราได้ แต่ก็เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ฝาง สมุนไพร
ฝักสมุนไพรฝางลักษณะรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ
แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ
ส่วนที่ใช้ : แก่น (เลือกที่มีสีแดงเข้มที่สุด)
สรรพคุณของสมุนไพร : ต้นฝาง
เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน แก้ปอดพิการ ขับหนอง แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา รักษาน้ำกัดเท้า แก้คุดทะราด แก้เสมหะ แก้เลือดกำเดา
ฝาง สมุนไพร เนื้อไม้และแก่นฝาง
รสขื่นขนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี
ขับประจำเดือน ฯลฯ
วิธีใช้เป็นยาขับประจำเดือน ใช้แก่น 5-15 กรัม ต้มกันน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรกอยู่ (แกะเมล็ดออกแล้ว) ประมาณ 4-5 ฝัก เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว รับประทานเช้า – เย็น
วิธีใช้เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า ใช้แก่น 2 ชิ้น ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาบริเวณน้ำกัดเท้า (ในแก่นฝางมีตัวยา ฝาดสมาน)
วิธีใช้แก้ท้องร่วง ท้องเดิน ใช้แก่น 3-9 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี้ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้ง ละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ฝาง 1 ส่วนน้ำ 20 ส่วน ต้มเคี่ยว 15 นาที รับประทานครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะ หรือ 4-8 ช้อนแกง
การใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ ทำสีย้อม ฝางมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้มเรียกว่า ” ฝางเสน” อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม” นำมาต้มสกัดสาร Haematexylin ใช้ย้อมสี Nuclei ของเซลล์ หรือต้มให้สีแดงที่ เรียกว่า sappanin ซึ่งเป็นสารให้สีประเภท Brazilin ใช้ทำน้ำยาอุทัยผสมน้ำดื่ม สีผสมอาหาร ใช้แต่งสีขนม เช่น ขนมชั้น ขนมขี้หนู ข้าวเหนียวแก้ว ฯลฯ และชาวบ้านนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์
ฤทธิ์ทางชีวภาพหรือผลการรักษาเชิงคลินิก
1.
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดเนื้อไม้ด้วยเอธานอล
70% สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Shigella
flexneri, Staphylococcus aureus, Vibrio cholerae และ Vibrio
parahaemolyticus ที่ความเข้มข้น 5 ม.ก. (Gritsanapan
and Chulasiri, 1983) สารสกัดเนื้อไม้ด้วยเอธานอล 95% สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Shigella dysenteriae และ Escherichia coli ได้ ที่ความเข้มข้น 100
ม.ก.
2.
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สาร
brazilin ซึ่งเป็นสารที่แยกได้จากสารสกัดแก่นฝางด้วยเมธานอล
มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนู rat ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เท้าบวมโดยการฉีด
carrageenin ในขนาดใช้ 10 ก.ต่อน้ำหนักตัว
1 ก.ก.
3.
ฤทธิ์ขยายหลอดเลือด สารสกัดแก่นฝางด้วยเมธานอล
มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดของหลอดเลือด aorta ที่ตัดมาจากช่องอกของหนู
rat ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 10 ม.ค.ก./ม.ล.
4.
ฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์ สารสกัดแก่นฝางด้วยเมธานอล, เมธานอล-น้ำ (1:1) และน้ำ
สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ human HT-1080 fibrosarcoma cell โดยให้ค่า EC50 เท่ากับ 15.8 , 13.8 และ 17.8 ม.ค.ก./ม.ล ตามลำดับ
5.
ฤทธิ์ยับยั้งการสะสมของไขมันบริเวณหลอดเลือด สาร
hematein ซึ่งแยกได้จากแก่นฝางสามารถลดการสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดของกระต่าย
ได้